วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบของการนิเทศ

รูปแบบของการนิเทศ
กิจกรรมการนิเทศการศึกษา (Ben M.Harris, 1963)

1. การระดมสมอง (Brainstorming)
เป็นกิจกรรมการประชุมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นการรวมเอากำลังความคิดระดมสมองร่วมกัน บุคคลที่เข้าประชุมควรจะเป็นผู้มีความรู้และใจกว้างพอที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยลักษณะของกลุ่มที่ประชุมอาจเป็นกลุ่มใหญ่หรือเล็กก็ได้ คุณภาพของความคิดขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถของบุคคลผู้เข่าร่วมกลุ่ม ความคิดจะต้องได้รับการพิจารณาร่วมกัน ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับของกลุ่มหรือไม่ก็ตาม แต่จะไม่มีการตัดสินว่าถูกหรือผิด วิธีการประชุมแบบนี้จะได้ประสบการณ์น้อย เพราะเป็นการประชุมลึกลงไปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ผู้เข้าร่วมประชุมจะได้รับความรู้จากการประชุม

2. การประชุม 6-6 (Buzz Session)
เป็นการประชุมอีกแบบหนึ่งที่ไม่มีพิธีรีตรองมากนัก แต่เดิมกำหนดว่ากลุ่มละ 6 คน ใน 6 นาที แต่ปัจจุบันนี้การจัดการประชุมแบบนี้แล้วแต่ปริมาณที่เข้าร่วมกลุ่ม แต่ไม่ควรเป็นกลุ่มใหญ่นัก เวลาที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับผู้เข้าร่วมประชุม เป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดโดยไม่มีการจำกัด ทุกคนมีสิทธิ์แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ จุดมุ่งหมายสำคัญคือ ต้องการให้ทุกคนในกลุ่มได้มีการปะทะสังสรรค์กันมากกที่สุด การประชุมอาจมีการจัดประธาน เลขา สำหรับดำเนินการหรือไม่ก็ได้ วิธีการนี้ได้ประสบการณ์มากกว่าการะดมสมอง ทั้งนี้เนื่องจากว่าไม่มีการจำกัด ใครพูดเรื่องอะไรก็ได้ จึงทำให้ได้ประสบการณ์กว้างขึ้น แต่การประชุมแบบนี้จะไม่มีกาตัดสินใจว่าความคิดใครถูกหรือผิด เช่นเดียวกับการระดมสมอง

3. คณะกรรมการ (Committee)
หมายถึงกลุ่มเล็ก ๆ ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ และวัตถุประสงค์นี้ไม่ใช่เพื่อตัวคณะกรรมการเอง ซึ่งก็หมายถึงว่า คำว่าคณะกรรมการมีความหมายแตกต่างไปจากการอภิปรายหรือกลุ่มเยียวยา (Therapy Group) ซึ่งมีความหมายของมันก็คือ เพื่อการตอบสนองสำหรับตนเอง คณะกรรมการจะมีความเกี่ยวกันกับการประชุมกลุ่มใหญ่ ซึ่งจะต้องมีอนุกรรมการในการตีปัญหาให้แตกหรือโครงการต่าง ๆ โดยเหตุที่มีลักษณะค่อนข้างเฉพาะนี่เองเป้าประสงค์(ภารกิจ)ที่ได้รับมอบหมายจึงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างจะเป็นพิธีการมากกว่ากลุ่มอื่น
งานใด ๆ อาจจะเป็นการดำเนินการโดยคณะกรรมการ เช่น การคัดเลือกวัสดุ การกลั่นกรอง พิจารณาเลือกสมาชิกใหม่ในหน่วยงาน การร่างนโยบาย และคณะกรรมการกำหนดสเปคของเครื่องมือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องใช้คณะกรรมการการประชุมแต่ละกรณี สำหรับนักเรียนในชั้นพิเศษที่ได้รับมอบหมาย อาจจะดำเนินการโดยนักจิตวิทยาหรือคนอื่นที่เกี่ยวกับปัญหาพิเศษของนักเรียนคนนั้นที่คณะกรรมการมอบหมาย
ตราบที่กิจกรรมของคณะกรรมการถูกนำไปใช้ในกรณีที่ต้องการการตัดสินใจโดยอาศัยความคิดเห็นของกลุ่ม จะช่วยให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกันปฏิบัติงาน แต่ขณะเดียวกันก็จะมีข้อเสียหายเช่นกัน การใช้คณะกรรมการอาจทำให้เกิดการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย หรือการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เคยมุ่งหวัง จะกระทำให้ได้ดีขึ้นนั้น อาจกลับกลายเป็นเลวลงหรือบางครั้งการใช้คณะกรรมการมักจะก่อให้เกิดการล่าช้าในการตัดสินใจ และบางครั้งก็กลายเป็นข้อยุติไม่ได้ เพราะการถกเถียงที่บานปลายและขัดแย้งกันโดยหาเหตุผลไม่ได้

4. การสาธิต(Demonstration)
การสาธิตเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนำเหตุการณ์ที่จัดเรียงลำดับไว้แล้ว มาเสนอต่อกลุ่มเพื่อให้ผู้นั้นสังเกตการสาธิตมีลักษณะที่เป็นจริง แต่โดยธรรมชาติมักจะเน้นด้านพฤติกรรมในการปฏิบัติ ซึ่งผู้สังเกตจำเป็นจะต้องดู กลุ่มจะเป็นขนาดใดก็ได้ แต่เวลาและการเตรียมตัวที่ใช้ในการสาธิต น่าจะใช้กลุ่มที่มีขนาดใหญ่พอสมควร
การสาธิตนั้นไม่เพียงพอ แต่จะนำมาใช้กับความต้องการของผู้ที่สังเกตเท่านั้น ยังใช้ได้กับเรื่องความคิด วัสดุอุปกรณ์ ขั้นตอนของการดำเนินงาน หรือเทคนิคซึ่งสามารถสังเกตแล้วเกิดประโยชน์ ผู้ทำการสาธิตเลือกจากคนที่มีความชำนาญ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพจะถูกจัดการสาธิตเป็นอุดมคตินั้น จะมีการวางแผนด้วยรายละเอียด และมีการซับซ้อน ผู้สังเกตก็เตรียมสังเกตอย่างพินิจพิเคราะห์แนะนำในการสังเกตควรจะใช้ที่ต้องการให้ผู้สังเกตไม่เพียงแต่มองดูเท่านั้นแต่ต้องวิเคราะห์บันทึก หรือสังเกตอย่างจริงจัง กิจกรรมติดตามผลคือ ให้มีส่วนร่วมในการประทับใจ การวิเคราะห์บันทึกต่าง ๆ สรุปกฎเกณฑ์และการนำไปใช้
การสาธิตจะมีประสิทธิภาพเมื่อทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะที่เรียนรู้แล้วกับความมุ่งหมายที่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ให้เป็นที่เข้าใจชัดเจนแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือผู้สังเกต

5. การทดลองปฏิบัติการ (Laboratory)
การทดลองเพื่อค้นคว้าหาข้อสรุปในบางเรื่องเป็นวิธีนิเทศอีกวิธีหนึ่งที่ผู้นิเทศและครูสามารถทำร่วมกันได้ เช่น การทดลองวิธีสอน ทดลองกิจกรรมในโรงเรียน ทดลองการใช้วัสดุอุปกรณ์และแบบเรียน ทดลองใช้ข้อทดสอบ ฯลฯ การทดลองเช่นนี้ เริ่มต้นที่ผู้นิเทศเป็นผู้เป็นผู้คิดและวางแผน แล้วทดลองร่วมกับครู โดยผู้นิเทศปฏิบัติร่วมกับครูเป็นประจำในระหว่างการทดลอง ครูในโรงเรียนนั้น ๆ ได้รับความรู้จากการทดลองเมื่อการทดลองนั้นสิ้นสุดลง ผู้นิเทศนำผลการทดลองไปเผยแพร่ นำผลการทดลองไปประยุกต์ใช้ เช่น ทดลองเรื่องการสอน คัดลายมือ และการสะกดคำในชั้นประถมศึกษาตอนต้น

6. การทดลองปฏิบัติจริง (Directed Practic)
การทดลองปฏิบัติจริง รวมเอากิจกรรมทดลองของเอกตบุคคลไว้ โดยเป็นกิจกรรมที่เน้นการสัมภาษณ์มากกว่าการพูดคุยตามปกติ กิจกรรมเหล่านี้ไม่ค่อยจะเน้นในทางตำรา และจะอาศัยความชำนาญของศึกษานิเทศก์เป็นผู้นำในการปฏิบัติ โดยความจริงที่ว่า การทดลองปฏิบัติจริงจะต้องจัดดำเนินการจากตำรา การเตรียมแผนการสอน โดยอาศัยการแนะนำและจะไม่มีการบังคับบัญชาให้กระทำอย่างนี้อย่างนั้น
การทดลองปฏิบัติจริง เหมาะสมที่จะนำไปใช้พัฒนาทักษะ และแก้ปัญหาของครูเป็นรายบุคคล การใช้อุปกรณ์การสอน เครื่องมือต่าง ๆ และเทคนิคต่าง ๆ จะเป็นแนวทางในกิจกรรมทดลองปฏิบัติจริง ข้อเสียของกิจกรรมนี้ก็คือ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง แต่ถ้าจะจัดให้ดำเนินการเป็นหมู่คณะ ค่าใช้จ่ายอาจจะลดลงได้ การสาธิต การประชุม อภิปราย ทัศนศึกษา ก็จัดกลุ่มได้แต่ก็ไม่ค่อยจะช่วยพัฒนาทักษะเท่าไรนัก สู้การแนะนำให้เป็นรายบุคคลไม่ได้ ประสบการณ์ตรงก็สามารถจะช่วยได้ แต่ก็หาโอกาสที่ดียากที่จะพัฒนา อย่างน้อยก็ให้มีประสิทธิภาพบ้าง ไม่ถึงกับล้มเหลวไปเลย
การทดลองปฏิบัติจริงมักจะรวมเอา Workshop การเรียน การประชุมเจ้าไว้ด้วยแต่ส่วนใหญ่แล้วการทดลองปฏิบัติจริงจะใช้การแนะนำเป็นรายบุคคลเสียมากกว่า

7. การอภิปราย (Discussion)
การที่คนกลุ่มหนึ่ง ที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกันหรือมีปัญหาในทำนองเดียวกันมาร่วมสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน บางครั้งก็เป็นการพูดในหมู่ผู้ร่วมอภิปรายด้วยกันเอง แต่ในบางครั้งก็มีผู้ฟังอยู่ด้วย
การอภิปรายนี้มีประวัติความเป็นมานานแล้ว คือ ในสมัยโรมันประชาชนสนใจในเรื่องการพูดกันมาก มีการฝึกพูด ฝึกบรรยาย แสดงวาทศิลป์ในที่สาธารณะ ในโรงเรียนก็มีการสอนทางด้านการพูด และมีการจัดกิจกรรมพิเศษในทำนองชมรมนักพูดหรือนักปาฐกถาและโต้วาทีอีกด้วย ชาวโรมันทั่ว ๆ ไป สนใจในการแสวงหาความรู้ และการแสวงหาความรู้นั้น แสวงหาทั้งจากการอ่านการซักถาม และการอภิปรายต่าง ๆ เราจะพบว่าเป็นเรื่องประจำวันทีเดียวที่มีการอภิปรายหมู่ขึ้นตามตลาด ตามจัตุรัส และตามสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงโรม แม้แต่นักรบที่ได้รับชัยชนะจากข้าศึกมาแล้วแทนที่จะตรงกลับบ้าน กลับไปที่จัตุรัส เพราะ ณ ที่นั้นจะมีคนเป็นจำนวนมากไปรอฟังข่าวศึกและเตรียมซักถามเหล่าทหารหาญอยู่อย่างคับคั่ง

ในสมัยกษัตริย์อาเธอร์ (Arthur) ของประเทศอังกฤษก็มีการอภิปรายแบบโต๊ะกลม (Round Table Discussion) ซึ่งเป็นที่ทราบกันอย่างแพร่หลายว่ากษัตริย์อาเธอร์และอัศวินของพระองค์ จะร่วมประชุมกันอยู่เสมอรอบโต๊ะกลมนั้น บรรยากาศจะดูเสมอภาคและเป็นกันเอง ทั้งนี้เพราะกษัตริย์อาเธอร์ต้องสร้างความรู้สึกเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในหมู่อัศวินของพระองค์ไม่ต้องการให้ใครมีอำนาจเหนือใคร แม้แต่พระองค์ก็จะไม่ยอมอยู่หัวโต๊ะ ซึ่งเป็นการแสดงอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น พระองค์จะประทับอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งรอบโต๊ะกลมนั้นเอง และการประชุมของพระองค์ในสมัยนั้นก็เป็นต้นฉบับของการอภิปรายแบบโต๊ะกลมในโอกาสต่อมา
การอภิปรายแบบแพนแนล (Panel) และแบบซิมโพเซี่ยม (Symposium) เกิดขึ้นในอเมริกา ในศตวรรษที่ 15 นี้ สหรัฐเมริกามีผู้เชี่ยวชาญหลาย ๆ สาขาวิชาเพิ่มขึ้น การเผยแพร่วิชาความรู้เป็นไปอย่างแพร่หลาย เพราะฉะนั้นแทนที่จะใช้ผู้บรรยายเพียงผู้เดียว ใช้ผู้บรรยายหลาย ๆ คน มาร่วมแสดงความคิดเห็นในโอกาสเดียวกัน ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไป เพราะผู้ฟังได้มีโอกาสฟังผู้พูดซึ่งมีน้ำเสียงลีลาการพูด ตลอดจนแนวความคิดเห็นแตกต่างกัน ทำให้การอภิปรายมีรสชาติเข้มข้นขึ้น

8. การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
การจัดนิทรรศการจัดได้หลายรูปแบบ เป็นที่ยอมรับกันว่าการจัดนิทรรศการมีคุณค่าทางการศึกษาและธุรกิจเป็นอย่างมาก สำหรับการจัดนิทรรศการซึ่งเป็นเครื่องมือประกอบการประชุมขนาดใหญ่เป็นการยอมรับของบุคคลบางกลุ่มเท่านั้น
การจัดนิทรรศการทางการศึกษา เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เพื่อแสดงกิจการของโรงเรียน กิจกรรมของนักศึกษา ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียนแก่สาธารณชน การจัดนี้มักใช้ชื่อว่า สัปดาห์สำหรับโรงเรียนมัธยมแบบกินนอน ราตรีการคืนสู่เหย้า (ราตรีการกลับคืนสู่วิทยาลัย) เป็นต้น
การจัดนิทรรศการของห้องสมุดเป็นที่นิยมจัดกันมาก เพื่อแสดงหนังสือ เอกสารสำหรับบรรณารักษ์ ครู อาจารย์ นักศึกษา เป็นการจัดแบบ Inservice-Education
การจัดนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์ เป็นประโยชน์ทางการเรียนการสอน เป็นการกระตุ้นเตือนครูให้นึกถึงการวางโครงการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เกิดประโยชน์ทางการเรียนการสอนอย่างมากทีเดียว
การจัดนิทรรศการเหมาะสำหรับการจัดการแสดงผลงานที่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงแก่งาน Inservice-Education การปฐมนิเทศ (Orientation) และการประชาสัมพันธ์ (Information)

9. การจัดทัศนศึกษา (Field Trip)
หมายถึง การนำคณะครูไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ นอกชุมชน หรืออาจจะเป็นสถานศึกษาหรือแหล่งวิทยาการ ตลอดจนสถานประกอบการต่าง ๆ การไปทัศนศึกษาอาจจะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ตรงให้กับครูมากที่สุด เพราะเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง ในการจัดทัศนศึกษาควรจะเป็นการดำเนินการร่วมกันระหว่างครูกับผู้นิเทศ จะได้มีการวางแผนการจัดทัศนศึกษาร่วมกันและจะต้องมีการประเมินผลการไปทัศนศึกษาในแต่ละครั้งด้วย
10. การนิเทศการสอนด้วยภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ (Film or T.V.)
การนิเทศการสอนด้วยภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ หรือโสตทัศนูปกรณ์อื่น ๆ เป็นกิจกรรมที่ให้ผลเด่นชัดที่พึงกระทำให้บรรลุเป้าหมายในการนิเทศ ส่วนมากมักใช้ฟิล์ม 16 มม. เป็นเสียงในฟิล์ม ส่วนโทรทัศน์ที่ใช้วงจรปิดเพื่อการศึกษา กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างได้ผลดี
การจัดกิจกรรมการนิเทศแบบนี้ เพื่อเป็นการบรรยายหลังจากใช้ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์แล้ว ถ้าเป็นกลุ่มใหญ่ก็ให้แบ่งเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ฟิล์ม 16 มม. นี้ มีคุณค่าพิเศษคือ ใช้ตอนใดก็ได้ อยากจะดูตอนใดซ้ำก็ได้ หรือจะหยุดฟิล์มก็ได้ หรืออยากหมุนฟิล์มกลับดูใหม่อีกครั้งก็ได้ การใช้ฟิล์มนี้ทำให้เกิดความคิดในการแก้ปัญหาได้
ภาพยนตร์เงียบ ได้ถูกนำมาใช้ในชั้นเรียนของนักเรียนฝึกหัดครูเพื่อจะวินิจฉัยท่าทีของนักเรียนฝึกหัดครูที่มีต่อเด็ก เพื่อกระตุ้นให้ผู้ดูเกิดการอภิปราย การใช้โทรทัศน์เพื่อวัตถุประสงค์ในการนิเทศ มีแนวโน้มที่จะประสบผลสำเร็จได้ดี



11. ประสบการณ์ตรง (Firsthand Experience)
ประสบการณ์ตรง หมายถึง กิจกรรมที่วางแผนไว้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ปฏิบัติจริง มีความรับผิดชอบในสถานการณ์นั้น และสถานการณ์ต้องเป็นสถานการณ์จริงใจ
ประสบการณ์ตรงสามารถนำไปใช้ได้หลายสาขาอาชีพ เช่น แพทย์ฝึกหัด การฝึกหัดนักเรียนครู ผู้บริหาร และการนิเทศการศึกษา ประสบการณ์ตรงสามารถลดความแตกต่างระหว่างครูประถมศึกษาและครูมัธยมศึกษาได้ใช้ทัศนคติ พฤติกรรมความเข้าใจ และทักษะได้ โดยวิธีให้ครูเหล่านั้นได้ร่วมกิจกรรมอันเดียวกัน และมีประสบการณ์ตรงในด้านการสอนหลายระดับ เช่น ครูระดับประถมศึกษา ได้เข้าร่วมในกิจกรรมการสอนในระดับมัธยมศึกษาด้วย

12. การเยียวยากลุ่ม (Therapy)
การเยียวยากลุ่ม เป็นกิจกรรมที่สามารถนำเอาหลักการและการปฏิบัติทางการ แนะนำมาใช้ในสถานการณ์กลุ่ม เนื่องจากการงานด้านการเยียวยากลุ่มสามารถช่วยให้ความรู้สึก ค่านิยมและแรงจูงใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมดีขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ยังไม่ได้รับการทดสอบอย่างกว้างขวางก็ตาม แต่ก็ได้ถูกนำมาใช้ในการนิเทศการศึกษามาก เมื่อนำเอาการเยียวยากลุ่มมาใช้ในการนิเทศการศึกษา ผู้นิเทศการศึกษาจะต้องคำนึงถึงรากฐานทางจิตวิทยา ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากการทำงานของครูกับเพื่อนร่วมงาน ปัจจุบันนี้การเยียวยากลุ่มมาใช้กับนักเรียนฝึกหัดครู ปรากฏว่านักเรียนได้เปลี่ยนแปลงเจตคติและมีความเข้าใจเด็ก ๆ มากขึ้น ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเยียวยา
กลุ่มและพบว่า การเยียวยากลุ่มช่วยชดเชยความรู้สึกอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของนักเรียน ช่วยส่งเสริมการอภิปราย
อย่างเสรี ช่วยส่งเสริมการปรับตัวช่วยลดการต่อต้าน และกระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น

13. สัมภาษณ์มีรูปแบบ (Structured Interview)
การสัมภาษณ์มีรูปแบบ เป็นการสัมภาษณ์แบบหนึ่งในหลาย ๆ แบบที่ใช้ในกิจกรรมนิเทศการศึกษา การสัมภาษณ์ใช้วิธีการแบบเผชิญหน้า วิธีการนี้ใช้มากเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นก่อน หรือเป็นการแจ้งข่าวให้ทราบ เกี่ยวกับผู้ร่วมงาน การประชาสัมพันธ์ และการประเมินผลงาน สิ่งที่ทำ ให้สิ่งเหล่านี้สำเร็จได้คือการใช้วิธีสัมภาษณ์มีรูปแบบนั่นเอง

14. การสัมภาษณ์เฉพาะจุด (Interview Focused)
การสัมภาษณ์เฉพาะจุดนี้ เป็นกิจกรรมทางการนิเทศโดยเฉพาะ เป็นที่เหมาะอย่างยิ่งในงานประเมินผลและงานนิเทศภายในได้อธิบายลักษณะสำคัญของการสัมภาษณ์แบบนี้ว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องมีส่วนเกี่ยวข้อง
ผู้ถูกสัมภาษณ์ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญเสียก่อนแนวทางการสัมภาษณ์จะเน้นเฉพาะจุดที่ถูกสัมภาษณ์มีประสบการณ์การสัมภาษณ์จะเน้นเฉพาะจุดที่ถูกสัมภาษณ์มีประสบการณ์ลักษณะวิธีการสัมภาษณ์ดังกล่าวนี้ สอดคล้องอย่างยิ่งกับหลักการนิเทศในการสังเกตการสอนในห้องเรียน ผู้นิเทศใช้วิธีการสัมภาษณ์เฉพาะจุดนี้ สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ในห้องเรียน พัฒนาวิธีการสัมภาษณ์ โดยเน้นตรงที่ความคิดของครูที่มีต่อประสบการณ์การเรียนการสอน กิจกรรมทำนองนี้มีคุณค่าอย่างยิ่งในการพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของพฤติกรรมในห้องเรียนของครู
ความพยายามที่จะทดสอบความรู้และความต้องการขณะที่ดำเนินอยู่ภายใต้จิตสำนึกของแต่ละคน สามารถจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เฉพาะจุดได้ผล วิธีอื่น เช่น แบบสอบถาม การอภิปรายและการสัมภาษณ์แบบเค้าโครง จะได้ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าสำหรับจุดมุ่งหมายทางการประเมินผลหลายประการแน่นอน แต่ก็ไม่ครอบคลุมปฏิกิริยาโต้ตอบกลับทางความคิดต่อประสบการณ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากต้องการให้รู้สึกลงไปอีกก็อาจจะใช้วิธีการสัมภาษณ์เฉพาะจุดได้ในทำนองเดียวกัน ชุมชนจะมีความสัมพันธ์และเข้าใจต่อโครงการต่าง ๆ อย่างดีต้องอาศัยวิธีสัมภาษณ์เฉพาะจุด เพื่อจะได้ข้อมูลนำมาวิเคราะห์ความคิดเห็น ถ้าท่านต้องการจะรู้ว่าคนอื่นเขาคิดอะไร รู้สึกอย่างไร ท่านทำได้ด้วยการถาม แต่โดยทั่วไปคำตอบจะได้ข้อเท็จจริงน้อยกว่าการใช้เทคนิคในการสัมภาษณ์

15. การสัมภาษณ์ทางอ้อม (Interview Non-Directive)
การสัมภาษณ์อย่างชนิดที่ไม่ต้องมีแนวทาง เป็นการสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ เปิดโอกาสให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ซักถามสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความชอบใจเป็นการสัมภาษณ์ชนิดที่ไม่ต้องมีแนวทางกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ ขึ้นอยู่ที่ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์มีปัญหาความสนใจและข้อข้องใจอย่างไรบ้าง สิ่งเหล่านี้จะช่วยเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้สัมภาษณ์ซักถาม ผู้สัมภาษณ์จะสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง พยายามหาช่องทางตะล่อมให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบให้มากที่สุด
การสัมภาษณ์ชนิดนี้มักจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า เป็นการสัมภาษณ์ชนิดที่ช่วยแก้ไขหรือรักษาผู้ป่วย (Therapeutic Interview) สัมภาษณ์ชนิดนี้มีประโยชน์มากที่สุด ในการที่สัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิดเห็น ทัศนคติหรือค่านิยมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ในกรณีที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับอารมณ์ การสัมภาษณ์ชนิดนี้ไม่ต้องมีแนวทางกำหนดตายตัว จะช่วยแก้ไขสถานการณ์หรือปัญหาต่าง ๆ ของผู้ร่วมงาน ถ้าได้มีการระบายอารมณ์และมีวิธีการวิเคราะห์ความรู้สึก ค่านิยม และทัศนคติในสถานการณ์ที่เป็นกันเองจะช่วยให้เกิดความรู้สึกเข้าใจกันดียิ่งขึ้น

16. การเยี่ยมชั้นเรียน (Inter-Visitation)
เป็นเทคนิคการนิเทศการศึกษาอย่างหนึ่งที่ให้ครูไปทำการสังเกตขณะที่คนอื่นทำงาน ซึ่งบางทีหรือบางแห่งใช้คำว่า Observation การเยี่ยมชั้นเรียนหรือการสังเกตการสอนนี้ก็คล้ายกันกับการสาธิตการสอน คือ มีคนสอนคนเดียว และมีคนมาดูอาจจะเป็น 1 คน หรือกลุ่มเล็ก ๆ ก็ได้ ที่สามารถเห็นสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ทุกอย่าง แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยตรงที่การสาธิตการสอนจะมีการเตรียมตัวผู้สาธิตเป็นอย่างดี และแจกบันทึกการสอนให้ผู้ที่จะมาดูศึกษาล่วงหน้า เทคนิคและวิธีการของการเยี่ยมชั้นเรียนก็ดี จะต้องบอกจุดมุ่งหมายของการไปสังเกตการสอนและหลังจากนั้นจะต้องมีการอภิปรายการสอนเพื่อปรับปรุงการสอน ทั้งของผู้สังเกตและครูผู้สาธิต ศึกษานิเทศก์ก็ต้องดูว่าใครเป็นผู้มีปัญหาการสอนวิชาใด และใครเก่งให้ไปดูไว้ล่วงหน้า และจะต้องเตรียมไว้ว่า หลังจากดูการสอนแล้ว ผู้สังเกตการสอนและผู้สอนจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งจะต้องมีการแจกรายละเอียดให้กับผู้เข้าสังเกตการสอนก่อน เช่น จุดมุ่งหมายที่จะไปดูการสอน บันทึกการสอน ลักษณะของห้องเรียนและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เรียนบางคนในห้องที่จะไปดูการสอน บันทึกการสอน ลักษณะของห้องเรียนและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้เรียนบางคนในห้องที่จะไปดูการสอน
การเยี่ยมชั้นเรียนเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากที่ให้ครูที่มีจุดอ่อนและต้องการความช่วยเหลือไปดูครูที่มีลักษณะตรงกับที่ตนต้องการสอนทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างครูด้วยกันและทำให้ผู้นิเทศการศึกษารู้จักใช้ความสามารถของตนที่ตนนิเทศให้เห็นประโยชน์และอาจจะทำให้ผู้นิเทศเองหรือครูใหญ่ได้ปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับวิธีการสอน ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน เคยมีผู้นำเทคนิคการนิเทศการศึกษาวิธีนี้ไปใช้ในทางที่ผิด คือไม่มีการเตรียมการล่วงหน้าว่ามีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างที่จะไปสังเกต ไม่มีการติดตามผลซึ่งการที่จะใช้ในการเยี่ยมชั้นเรียนให้ได้ผลที่สุด จะต้องดูว่าคนไหนมีความต้องการที่จะดูเรื่องอะไร ก็ไปเลือกบุคคลที่ทักษะและความสามารถทางด้านนั้น เป็นผู้ทำกานสอนให้ดู หรืออาจจะเป็นการพาครูไปดูโรงเรียนที่มีโครงการทดลองและปรับปรุงการศึกษาที่ดีก็ได้ ซึ่งจะต้องมีการวางจุดมุ่งหมายล่วงหน้า และจะต้องมีการวางจุดมุ่งหมายล่วงหน้า และจะต้องมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อกันและกันภายหลังจากที่สังเกตการสอนแล้วจึงจะทำให้การเยี่ยมชั้นเรียนได้ผลดีสมตามจุดมุ่งหมาย

17. การทดลองปฏิบัติการ (Laboratory)
การทดลองปฏิบัติการเป็นกิจกรรมที่เป็นเรื่องการฝึกปฏิบัติการ ทดลองโดยตรง การทดลองปฏิบัติการเป็นกิจกรรมหลักสำคัญที่พัฒนาทักษะโดยเฉพาะ เป็นกิจกรรมภายในกลุ่มบุคคลภายในกลุ่มจะต้องมีการประชุมปฏิบัติการร่วมกัน วางโครงการของกลุ่มร่วมกัน กิจกรรมการทดลองปฏิบัติการนี้เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาอบรมประจำการ (Inservice-Education)
การปรับปรุงการใช้ข้อมูลแบบทดสอบมาตรฐานของครูนั้น ส่งผลต่อการทดลองปฏิบัติการครูกลุ่มเล็ก ใช้ข้อมูลของแบบสอบถาม ตัวอย่างเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อสอบแต่ละข้อ การแสดงผลการเรียนของเด็กแต่ละคน การแสดงผลการเรียนของทั้งชั้น การทดลองปฏิบัติ การจะช่วยให้เกิดการพัฒนาทักษะ กิจกรรมนี้อาศัยฝึกจากสถานการณ์จำลองที่ใกล้เคียง

18. การบรรยาย (Lecture)
กิจกรามนี้เป็นแบบที่เก่าที่สุดแบบหนึ่งในการให้การศึกษาอบรมการประชาสัมพันธ์และการปฐมนิเทศครูใหม่ โดยความหมายแล้ว การบรรยายเป็นการพูดโดยตลอด บางครั้งต้องการแสดงท่าทางประกอบ ซึ่งทำให้การบรรยายได้ผลยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น การบรรยายจึงเป็นทั้งการแสองภาพประกอบและแสดงท่าทางประกอบด้วย
การบรรยายเหมาะกับการถ่ายทอดความรู้ ใช้กับกลุ่มขนาดใดก็ได้ การบรรยายโดยให้ภาพประกอบกับกลุ่มขนาดเล็ก แต่ถ้ามีเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับการถ่ายภาพประกอบก็อาจให้กลุ่มใหญ่ ๆ เลยก็ได้
การบรรยายจะใช้กับการประชุมปรึกษาหารือ สถาบัน รายวิชา และการเรียนเป็นกลุ่มเมื่อรวมกิจกรรมกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งให้ประสบการณ์มากกว่ากิจกรรมการบรรยายจะเป็นการประหยัดเวลา ไม่เหมือนกับกิจกรรมอื่น ๆ ได้มีการโต้เถียงเกี่ยวกับการใช้การบรรยายมากในระยะหนึ่ง โดยหลักการแล้ว เพราะว่าความพยายามที่จะใช้การบรรยายเพื่อจะเปลี่ยนเจตคติ พฤติกรรมและค่านิยมไม่ประสบผลสำเร็จ โดยสรุปการบรรยายเป็นวิธีการเหมาะสมที่สุดในการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพต่อกลุ่มใหญ่

19. การประชุม (Meeting)
หมายถึง การพบปะของกลุ่มคนเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่ง ในแง่ของการนิเทศการศึกษา การประชุมจัดขึ้นโดยหน่วยงานที่มีรูปแบบตามขนาดของกลุ่มคน เพื่อแสดงการตัดสินใจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในที่นี้การประชุมความหมายต่าง ๆ ไปจากที่เข้าใจกันว่า หมายถึง การที่คนมารวมกลุ่มกัน การมีระเบียบวาระการประชุมที่วางไว้ก่อน เป็นสิ่งที่ทำให้กิจกรรมของการประชุมแตกต่างไปจากการอภิปราย (Discussion) และการเยียวยารักษาเป็นกลุ่ม (Therapy) จุดมุ่งหมายของการประชุมเน้นที่การตัดสินใจ ซึ่งทำให้สามารถแยกการประชุมแบบนี้ออกจากกิจกรรมของการรวมกลุ่มแบบอื่น ๆ อย่างเช่น การระดมสมอง (Brainstorming) การบรรยาย (Lecture) และการสาธิต (Demonstration)
การประชุมต้องมีกฎเกณฑ์ระเบียบเพื่อควบคุมผู้เข่าร่วมประชุม ซึ่งเป็นลักษณะที่หายากในการประชุมแบบอื่น ๆ
ลักษณะของการประชุมแบบนี้จะชี้ให้เห็นประโยชน์ของการประชุม เพื่อเป้าหมายของการนิเทศการศึกษา เพื่อความคิดจากผู้เข้าร่วมประชุมได้รับการพัฒนาและจำเป็นต้องช่วยตัดสินใจในปัญหาร่วม กิจกรรมนั้น ๆ ก็ย่อมประสบผลสำเร็จ วิธีการนี้เหมาะสมมากกว่าที่จะได้ดำเนินการในกลุ่มคนจำนวนมาก การตัดสินใจทีมีประสิทธิภาพนี้อาจจะทำได้ในกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่เมื่อการตัดสินใจต้องนำไปให้คนกลุ่มใหญ่รวมตัดสินใจ โครงการของการประชุมที่มีรูปแบบก็ใช้การได้ดี
การประชุมแบบนี้จะต้องใช้ขบวนการที่เกี่ยวกับการอภิปรายเป็นคณะ ในการอภิปรายเป็นจะทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ความรู้ที่ต้องการมีสาระและประโยชน์ในการพิจารณาตัดสินใจและกิจกรรมในการประชุมจะเป็นสิ่งที่รับรองมติที่ได้ช่วยตัดสินใจลงไป บางครั้งการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการจะจัดให้มีการจัดขึ้นในการประชุมปรึกษา (Conference) หรือการประชุมคณะครูในสถาบัน (Institues) แต่เป็นเพียงช่วงระยะหนึ่งที่สิ้นสุดลงในเวลา 2/3 ชั่วโมง

20. การสังเกต (Observation)
เป็นกิจกรรมที่ผู้ทำการสังเกตการสอนของสมาชิกในกลุ่มอย่างมีระบบ เพื่อจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์งานของเขาเหล่านั้น การสังเกตก็คล้ายกับการสาธิต (Demonstrations) และการเยี่ยมเยียน (Inter Visitation) จุดมุ่งหมายก็เพื่อพัฒนาในด้านความเข้าใจและในการวิเคราะห์งานนั้น จะมีผลโดยตรงต่อผู้ที่สังเกตมากว่าผู้สังเกต
เทคนิคและวิธีการสังเกตนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ถ้าศึกษานิเทศก์จะสังเกตเพื่อแนะนำเกี่ยวกับกับการศึกษาการสอน การไปสังเกตก็ควรเป็นเวลาสั้น ๆ และใช้วิธีสังเกตแบบธรรมดาทั่ว ๆ ไป (Simple Observation) แต่ถ้าเป็นการสังเกตเพื่อประเมินค่าของสมาชิกในกลุ่ม การสังเกตจำเป็นต้องกระทำบ่อย ๆ และใช้ระยะเวลานาน มีการกำหนดวิธีการดำเนินงาน วิธีการในการสังเกตอย่างมีมาตรฐาน และกำหนดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นให้แน่นอน



21.การอ่าน (Reading)
การอ่านเป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับการนิเทศการศึกษา เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษาหาความรู้ให้กว้างขวางและทันสมัย สำหรับผู้นิเทศและผู้ร่วมงาน กิจกรรมการอ่านควรได้รับการสนับสนุนโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ศึกษานิเทศก์ควรอ่านแล้วย่อเป็นข้อความสั้น ๆ ส่งให้ครูได้ศึกษาหาความรู้หรือจัดทำเอกสารส่งหมุนเวียนไปในหมู่ครู หรือจัดให้มีการอ่านควบคู่กับการจัดอภิปรายการประชุม
ปัญหาการอ่านส่วนหนึ่งเป็นเป็นเพราะความขาดแคลนหนังสือ ห้องสมุด และขาดวิธีการในการส่งเสริมการอ่านที่เหมาะสม

22. การสังคม (Social)
กิจกรรมทางสังคม คือ การนำบุคคลต่าง ๆ เข้าหันเพื่อมิตรภาพการพักผ่อน การสังคม โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญ คือ การพักผ่อนหย่อนใจ และการพบปะสังสรรค์ ซึ่งผู้นำที่ดีต้องเข้าใจว่ากิจกรรมประเภทนี้มีประโยชน์และมีความสำคัญในการที่จะเข้าถึงจุดมุ่งหมายของการเข้าสังคม ทำให้ทุกคนเข้าใจได้เป็นอย่างดี การติดต่อสื่อสารกันก็ง่าย สะดวกสบายขึ้น ช่วยลดความขัดแย้งเป็นศัตรูกัน
กิจกรรมแบบ P.T.A. (Parents-Teachers’s Association) จัดว่าเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ดีที่สุด ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

23. บทบาทสมมติ (Role Playing)
บทบาทสมมติเป็นกิจกรรมที่ใช้กันในวงการศึกษาทุกระดับเป็นอย่างมาก ในปัจจุบันจะมีลักษณะคล้ายกับการปฏิบัติในสภาพที่เป็นจริง โดยการกำหนดสถานการณ์ที่เป็นรูปธรรมขึ้น ในกรณีที่ใช้ในการนิเทศนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูมากำหนดว่า บทบาทนั้น ๆ จะแสดงให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของผู้ทำกิจกรรมว่าเป็นอย่างไร หลังทำกิจกรรมควรมีการวิเคราะห์ วิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็นจากกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย

24. การบันทึกเสียง (Tape Recording)
การบันทึกเสียง คือ ขบวนการบันทึกเสียง โดยใช้แม่เหล็กซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งของการรวบรวมข้อมูล ข้อความ ฯลฯ และนำมาเปิดฟังใหม่อีก เป็นลักษณะหนึ่งของการเปลี่ยนข้อความให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า
การบันทึกเสียง คือ การบันทึกเป็นลักษณะของการเปลี่ยนพลังงานรูปหนึ่ง เป็นพลังงานอีกรูปหนึ่ง เช่น ไมโครโฟน จะทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นอากาศให้เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีรูปร่างลักษณะอย่างเดียวกับคลื่นอากาศ รับแล้วส่งเข้าเครื่องขยายเพื่อให้มีแรงดันหรือกระแสสูงรูปคลื่น
การบันทึกเสียง คือ เป็นการแสดงเนื้อหาสาระต่าง ๆ ให้แก่ผู้ฟัง 1 คน หรือมากกว่านั้น เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจหรือความชำนาญให้มากขึ้น ส่วนใหญ่ใช้ในการอภิปรายกลุ่ม การทำงานเป็นกลุ่ม การเล่นละคร การฝึกฝนต่าง ๆ และบทสนทนา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการอบรมครู การบริหาร การนิเทศ และการประชาสัมพันธ์
Miles ได้แนะนำการบันทึกเสียงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการงานการแสดงบทบาทตัวละครว่า เป็นการวิเคราะห์ เป็นตัวนำ เพื่อแสดงข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานะ และเพื่อความต่อเนื่องการกระทำ เมื่อถึงคราวที่จะต้องกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่ทำมาแล้วอีกครั้งหนึ่ง ก็อาจจะนำการทำงานเป็นกลุ่มที่เพิ่งทำเสร็จไปกลับมาใช้ในกลุ่มได้อีก

25. การทดสอบ (Tesing)
กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการบริหารและการใช้แบบทดสอบประเภทต่าง ๆ เช่น แบบสอบถาม สังคมมิติ (Socio-Metrix) กิจกรรมการทดสอบมักจะใช้ควบคู่กับกิจกรรมอื่น ๆ เช่น การถกเถียงปัญหา การแสดงบทบาทสมมติ การฝึกปฏิบัติจริง การสัมภาษณ์ และการสังเกต เป็นต้น ใช้เมื่อต้องการวัดความสำเร็จในกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำลงไป

26. การเขียน Writing)
เป็นกิจกรรมทางการนิเทศที่ใช้โดยทั่วไป ควรพยายามที่จะกระตุ้นให้บุคลากรภายในโรงเรียนเขียนบทความลงในวารสารทางวิชาการ ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น หรือส่งไปเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ บุคคลในท้องถิ่นมีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการนิเทศ การศึกษาโดยทางวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ เป็นต้น การเขียนนี้จะเป็นการพัฒนาบุคลากรให้เกิดทักษะได้อีกประการหนึ่ง